กฎหมายและฎีกาที่ควรรู้
ประสบการณ์ในอาชีพทนายความ
กฎหมายและฎีกาที่ควรรู้
รู้หมดกฎหมาย
- สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยตามกฎหมาย
วันเสาร์ 11 กุมภาพันธ์ 2566
ทนายเตือนภัย เรื่อง สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลย www.สู้คดี.com
คอลเซ็นเตอร์ทนายความ 099 464 4445
แชทกับทนายจอย: https://bit.ly/lawyerjoy
บุคคลใดก็ตามถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด และถูกจับกุมเป็นผู้ต้องหาตามกฎหมายยังถือว่าผู้นั้นบริสุทธิ์อยู่ จนกว่าจะถูกฟ้องเป็นจำเลยและศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด ดังนั้นสิทธิของผู้ต้องหาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกันตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 7/1 ได้กำหนดสิทธิของผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหาไว้ว่า ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมตัวหรือคุมขัง มีสิทธิแจ้งให้ญาติหรือผู้ที่ผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุม หรือสถานที่ถูกควบคุมตัวในโอกาสแรกที่ถูกจับ และมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัว รวมถึงให้ทนายความเข้าฟังการสอบปากคำในชั้นสอบสวน และได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร ตลอดจนได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็ว เมื่อเกิดการเจ็บป่วย นอกจากนี้ กฎหมายได้กำหนดให้เจ้าพนักงานปกครอง หรือตำรวจผู้รับมอบตัว หรือผู้จับกุมต้องแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับกุมให้ทราบในโอกาสแรกที่ถูกจับกุมด้วย
ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 อยากปรึกษาหรือหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้ www.ทนายภูวงษ์.com
คดีอาญา
คดีอาญา คือ คดีที่เกี่ยวกับความผิดและโทษ
ซึ่งได้กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติต่างๆ ซึ่งมีโทษในทางอาญา
โทษทางอาญา มี 5
สถาน ได้แก่ ประหารชีวิต
จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน
หลักเกณฑ์การเป็นผู้เสียหาย
มาตรา 2 (4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6
การดำเนินคดีอาญามีอยู่ 2 ทาง คือ
1.ผู้เสียหายแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน โดยกล่าวหาว่ามีผู้กระทำผิดขึ้น และการกระทำนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย (คำร้องทุกข์) ผู้เสียหายจะต้องมีเจตนาให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ และเมื่อพนักงานสอบสวนรับแจ้งเหตุดังกล่าวแล้ว พนักงานสอบสวนจะต้องทำการสืบสวนและสอบสวน เพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน และเมื่อพนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเสร็จแล้ว ก็จะต้องสรุปสำนวนการสอบสวนดังกล่าวต่อไป
2.ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีต่อศาลเองโดยตรงก็ได้